EN | TH
ตัวอย่างการสอน
Visual note สรุปประวัติศาสตร์สุโขทัยด้วยภาพ
คอนเทนต์

0 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

ไทย

เรียนรู้ประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างสนุก เข้าใจง่าย ด้วยการสรุปด้วยรูปภาพการ์ตูน (Visual note)

อาณาจักรสุโขทัยจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ไทย

Dear-ASIA.com และสรุปสังคมด้วยภาพ by พี่นุ๊ก เชิญชวนคุณครูและนักเรียนเรียนรู้ประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างสนุก เข้าใจง่าย ด้วยการสรุปด้วยรูปภาพการ์ตูน (Visual note) และใบงาน เพื่อเป็นไอเดียประกอบการสอน

ตามกาลเวลาอาณาจักรสุโขทัยถูกผลัดเปลี่ยนเป็นเมืองขึ้นภายใต้อาณาจักรละโว้ ซึ่งถูกปกครองโดยขอมสบาดโขลญลำพง ด้วยพระปรีชาสามารถของพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือกันยึดอำนาจและสถาปนาสุโขทัยเป็นรัฐอิสระในปี พ.ศ. 1794 พ่อขุนบางกลางหาวได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์โดยทรงเปลี่ยนพระนามเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ทรงพัฒนารูปแบบการปกครอง ติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ศิลปะ ตลอดระยะเวลากว่า 200 ปี

· คลิปวีดีโอประวัติศาสตร์สุโขทัยเพิ่มเติม ได้ที่: เรื่องราวประเทศไทย หัวข้อ ประวัติศาสตร์สุโขทัย
· คลิปวีดีโอ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ในปัจจุบันเพิ่มเติมได้ที่: เรื่องราวประเทศไทย หัวข้อ สถานที่น่าสนใจ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 

เริ่มต้นอาณาจักรสุโขทัย

พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้ปกครองแคว้นสุโขทัย – ศรีสัชนาลัยได้ถูกขอมสบาดโคลญลำพงก่อการจลาจล ยึดอำนาจ และจะนำสุโขทัยกลับเข้าสู่การปกครองของอำนาจขอม (เขมรในปัจจุบัน)

2 ผู้กอบกู้แคว้นสุโขทัย

แต่มีบุรุษอยู่ 2 คนที่ไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้นนั่นคือ พ่อขุนผาเมือง (บุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลาวหาว สหายสนิทของพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือวางแผนกันทำการปฏิวัติเพื่อยึดอำนาจคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง

ความสำเร็จของการกอบกู้แคว้นสุโขทัย

โดยทั้ง 2 ได้ร่วมมือกันทำการปฏิวัติ ยึดอำนาจคืนจากขอมสบาดโขลญลำพงได้สำเร็จ

ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (ราชวงศ์พระร่วง)

ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (ราชวงศ์พระร่วง) แต่พ่อขุนผาเมืองไม่ได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัยต่อจากพ่อขุนศรีนาวนำถมพระบิดา แต่ได้ยกกรุงสุโขทัยให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว พระสหายที่ได้ร่วมกันโค่นอำนาจจากขอม นักประวัติศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่าเหตุที่พ่อขุนผาเมืองไม่ยอมขึ้นสู่อำนาจ เนื่องจากมีความสัมพันธ์อันดีกับทางขอม ทรงมีความใกล้ชิดกับทางราชสำนักเขมรและมีพระชายาพระราชทานเป็นพระราชธิดาในกษัตริย์ขอม

รายนามกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยและช่วงเวลาการปกครอง

สุโขทัยตอนต้น
อาณาจักรสุโขทัยมีเพียงราชวงศ์เดียวคือ ราชวงศ์พระร่วง มีกษัตริย์รวมทั้งหมด 9 พระองค์

สุโขทัยตอนกลาง - ปลาย

ที่ตั้งอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยนั้นมีอาณาเขตไม่แน่นอนโดยจะขึ้นอยู่กับความสามารถของกษัตริย์แต่ละพระองค์ พระองค์ไหนเข้มแข็งหัวเมืองต่างๆก็จะโอนอ่อนและอยู่ในบังคับบัญชา แผนผังอาณาจักรนั้นมีรูปแบบแผนผัง 4 ชั้นดังรูป

แผนผังอาณาจักรสุโขทัย

ในช่วงที่สุโขทัยรุ่งเรืองที่สุดคือในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีแผนผังอาณาจักรเป็นดังนี้

คำอธิบายสัญลักษณ์แต่ละหัวเมือง

การปกครองสมัยอาณาจักรสุโขทัย

รูปแบบการปกครองสมัยสุโขทัยจะเป็นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีรูป2 รูปแบบที่โดดเด่น ดังนี้

1. สมัยสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1792-1890)-การปกครองแบบพ่อปกครองลูก หรือราชาธิปไตย ปิตุลาธิปไตยโดยคิดว่ากษัตริย์เป็นเอนกนิกรสมมติ

2. สมัยสุโขทัยตอนกลาง-ปลาย (พ.ศ. 1890-1981)- การปกครองแบบธรรมราชา

พัฒนาการและความเจริญด้านต่างๆ ของอาณาจักรสุโขทัย

ระบบเศรษฐกิจของสุโขทัย

ระบบเศรษฐกิจ เป็นระบบการค้าเสรี ดังที่ปรากฎในหลักศิลาจารึก “ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า”   

ด้านการเกษตร: ประชาชนส่วนมากแทบทั้งหมดมีอาชีพเป็นเกษตรกร มีการสร้างระบบชลประทานสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค คือ สรีดภงค์ (ทำนบพระร่วง) และ ตระพังที่เป็นสระกักเก็บน้ำในตัวเมือง
 

ด้านการค้า: อาณาจักรสุโขทัย มีทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร

ศิลปวัฒนธรรมอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมที่ยังสืบทอดมาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบันโดยมีด้านไหนบ้าง เรามาดูกัน

การต่างประเทศสมัยอาณาจักรสุโขทัย

1. ความสัมพันธ์กับล้านนา: ผูกมิตรกันตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามฯ ดังที่เห็นในอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ที่เชียงใหม่เพื่อป้องกันการรุกรานจากมองโกล (กุบไลข่าน ตั้งราชวงศ์หยวน)

2. ความสัมพันธ์กับจีน: ในสมัยราชวงศ์หยวน มีการส่งเครื่องราชบรรณาการไปมองโกล เพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีนโดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสงคราม (ป้องกันจีนบุก) ส่วนด้านการค้า มีการติดต่อทำการค้ากับจีน ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการทำเครื่องชามสังคโลก

3 สาเหตุการเสื่อมและหมดอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย

พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)  ผู้ปกครองในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้ายโดยสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอยุธยาปี พ.ศ. 1981  สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยาเป็นอันสิ้นสุดยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัย
 

สรุปพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยและผลงานที่โดดเด่น

· พ่อขุนศรีอินทราทิตย์: ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ร่วมกับพ่อขุนผาเมืองในการกอบกู้อิสรภาพจากขอม

· พ่อขุนรามคำแหงมหาราช: ทรงประดิษฐ์อักษรไทย(สำคัญมากเป็นรากฐานของภาษาไทยที่เราใช้ในปัจจุบัน) ซึ่งจากเดิมนั้นใช้อักษรขอม
สร้างศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงขึ้น ซึ่งเป็นหลักฐานระดับชั้นต้นชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ในยุคนี้

· พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท): ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย เรื่อง“ไตรภูมิพระร่วง” ที่ว่าด้วยเรื่องนรก สวรรค์ และการเวียนว่ายตายเกิด พร้อมทั้งนำหลักทศพิธราชธรรมของพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง เป็นการปกครองแบบธรรมราชา

ออกแบบใบงานชวนกระตุ๊กต่อมเอ๊ะที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย

ชวนคุณครูและนักเรียนกระตุ๊กต่อมเอ๊ะ ผ่านใบงานและกิจกรรมสนุกๆ พร้อมด้วยเนื้อหาสรุปประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลาง โดยเนื้อหาในหัวข้อนี้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง วิชาสังคม ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักและธำรงความเป็นไทย โดยแบ่งเป็นระดับชั้นดังนี้

ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 
ป.4/4.3 ข้อ 1 อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย โดยสังเขป
ป.4/4.3 ข้อ 2 บอกประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยสุโขทัย: ตัวอย่างไฟล์สื่อประกอบการเรียนรู้ คลิกที่นี่
ป.4/4.3 ข้อ 3 อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

                                             ตัวอย่างใบงานป.4/4.3 ข้อ 2 ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยสุโขทัย
 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1
ม.1/4.3 ข้อ 2 วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่างๆ: ตัวอย่างไฟล์สื่อประกอบการเรียนรู้ คลิกที่นี่
ม.1/4.3 ข้อ 3 วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน: ตัวอย่างไฟล์สื่อประกอบการเรียนรู้ คลิกที่นี่

                                             ตัวอย่างใบงาน ม.1/4.3 ข้อ 2 วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่างๆ
 

                          ตัวอย่างใบงาน ม.1/4.3 ข้อ 3 วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน
 


บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย 

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก