EN | TH
ตัวอย่างการสอน
ศูนย์กลางอำนาจยุคต้น:รอยวัฒนธรรมในหลุมศพของชุมชนบ้านเชียง
คอนเทนต์

0 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

Big idea

ค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่โครงกระดูก เครื่องประดับจากสำริด ในหลุมฝังศพรูปแบบต่าง ๆ ที่บ้านเชียง

เข้าใจคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการเรียนรู้พิธีกรรมการฝังสิ่งของในหลุมฝังศพในชุมชนบ้านเชียง

การค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่โครงกระดูก เครื่องประดับจากสำริด ในหลุมฝังศพรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจสภาพสังคม และการปฏิสัมพันธ์กันของคนในสังคมบ้านเชียง รวมทั้งลักษณะการฝังศพที่อยู่ร่วมกันระหว่างคนเป็นและคนตาย ก็สะท้อนรากวัฒนธรรมโบราณที่ถูกส่งต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

*เนื้อหาในบทความนี้ ประกอบไปด้วยสาระความรู้ จาก Dear-ASIA.com และกิจกรรมการสอนที่น่าสนใจดัดแปลงจาก โครงการสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์ร่วมรากอุษาคเนย์ โดยแผนกวัฒนธรรม ยูเนสโก (UNESCO)*

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ความรู้

1. นักเรียนได้เรียนรู้ วัฒนธรรมโบราณในการฝังสิ่งของร่วมกับศพของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์และสิ่งที่บ่งบอกเกี่ยวกับชุมชนในยุคนั้น รวมทั้งวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้อง

ทักษะ

1. นักเรียนสามารถอธิบายวัฒนธรรม และการปฏิสัมพันธ์กันของคนในชุมชนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านวัฒนธรรมการฝังสิ่งของร่วมกับศพได้

2. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบสิ่งมีค่า และพิธีกรรมทางวัฒนธรรมของตนที่เกี่ยวกับเรื่องความตายกับคนสมัยโบราณได้

ทัศนคติ

1. เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างสมัยปัจจุบัน และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการเปรียบเทียบสิ่งของมีค่า และพิธีกรรมทางวัฒนธรรมของตนที่เกี่ยวกับเรื่องความตายของตนกับคนสมัยโบราณ

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ในระยะเวลา 50 นาที สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้น

ก่อนวันเรียน

ครูแจ้งนักเรียนล่วงหน้าคาบเรียนก่อนหน้าว่า ให้ถ่ายภาพสิ่งของที่ตนถือว่าสำคัญ และมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับนักเรียน เพื่อนำมาใช้ทำกิจกรรมในคาบเรียนถัดไป ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือของขวัญ เป็นต้น

1. ขั้นเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน (10 นาที)

1.1 เมื่อถึงคาบเรียนให้นักเรียนจับคู่กัน (Think Pair Share) และอธิบายกับคู่ของตัวเองว่าทำไมสิ่งของนั้นจึงมีความสำคัญต่อตนเองและสำคัญอย่างไร ดังคำถามต่อไปนี้

· สิ่งของชิ้นนี้ คืออะไร ใช้ทำอะไร

· สิ่งของชิ้นนี้ ทำจากอะไร วัสดุที่ใช้ทำ

· สิ่งของชิ้นนี้ มีที่มาอย่างไร ผลิตที่ไหน เช่น วัตถุทำด้วยมือที่ตกทอดมาจากปู่ย่า หรือเสื้อกีฬาทีมชาติ บางส่วนมาจากภายนอกประเทศ เช่น ของเล่นที่ผลิตในจีน หนังสือที่พิมพ์ในสหรัฐฯ หรือเสื้อผ้าจากประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

· วิธีการได้มาซึ่งสิ่งของที่มีคุณค่ากับตัวเราคืออะไร และสิ่งของทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของตัวเรากับบุคคลอื่น หรือสังคมอื่นอย่างไร

1.2 เลือกตัวแทนนักเรียน 1-2 คนให้นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งของของเพื่อน หน้าชั้นเรียน ในประเด็นที่นักเรียนได้ทำร่วมกันข้างต้น

2. ขั้นดำเนินบทเรียน (30 นาที)

2.1 ครูอธิบายว่า เรามักเก็บสะสมวัตถุสิ่งของที่มีคุณค่าพิเศษสำหรับเราเอาไว้ คนสมัยโบราณก็ทำเช่นเดียวกัน

2.2 จากนั้นครูถามนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่าสิ่งของอะไรบ้างที่มีคุณค่าสำหรับคนสมัยโบราณ? แล้วเราจะทราบได้อย่างไร?

2.3 ครูเฉลยว่า นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาว่า วัตถุใดที่คนสมัยโบราณให้คุณค่าด้วยการสำรวจหลุมฝังศพของพวกเขา “สิ่งของในหลุมศพ” สามารถเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่บอกถึงสถานะของบุคคลในชุมชน อะไรที่สำคัญสำหรับคนเหล่านั้น และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม รวมถึงวัฒนธรรมของคนในสังคมในสมัยนั้น ๆ  

2.4 ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยชี้แจงว่า วันนี้นักเรียนจะได้ศึกษา “สิ่งของที่ฝังพร้อมกับศพ” จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ช่วง 1,500 ถึง 200 ปีก่อนคริสตกาล) ในชุมชนบ้านเชียง และให้จับคู่เพื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้

2.5 กิจกรรมวิเคราะห์สถานที่ฝังศพ

1) ครูแจกเอกสารประกอบการทำกิจกรรม และแสดงสื่อการเรียนที่เป็นภาพถ่ายสถานที่ฝังศพพร้อมศพ และสิ่งของที่ถูกฝังอยู่ในนั้น

2) ครูบรรยายที่มา และสิ่งที่ถูกค้นพบในชุมชนบ้านเชียง

· รับชมวีดีโอใน Dear-ASIA.com เลือกประเทศไทย>ประเด็นประวัติศาสตร์ > รับชม นาทีที่ 1:00 หัวข้อบ้านเชียงเพื่อเป็นบทเกร่นนำในการเรียนรู้
https://www.dear-asia.com/th-story-4-152

· สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม: บ้านเชียงแหล่งโบราณคดีตัวแทนแหล่งอารยธรรมยุคสำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - Dear Asia (dear-asia.com)

3) จากนั้น ให้นักเรียนดูภาพถ่าย พร้อมตอบคำถามจากสื่อการเรียนลงบนเอกสารประกอบการทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้

· สิ่งของที่ถูกฝังอยู่พร้อมกับศพคืออะไร

· เพราะเหตุใดถึงมีการฝังสิ่งของเหล่านี้พร้อมกับผู้ตาย ต้องใช้วัสดุอะไรบ้างในการทำสิ่งของเหล่านี้ และพวกเขานำวัสดุเหล่านี้มาจากที่ใด

· นักเรียนคิดว่า อะไรคือ “สิ่งของที่มีค่า” สำหรับชุมชนโบราณแห่งนี้ เพราะเหตุใด

เอกสารประกอบการทำกิจกรรม: คลิกที่นี่

สื่อการเรียนรู้ภาพถ่าย: รายละเอียดตามรูปด้านล่าง

3. ขั้นสรุป (10 นาที)

ครูสรุปว่า คนสมัยโบราณหลงเหลือเรื่องราวทางวัฒนธรรม และสิ่งของมีค่าในยุคสมัยนั้นให้ศึกษาผ่านทางหลุมศพ จากนั้น ครูถามคำถามนักเรียนดังต่อไปนี้ แล้วให้นักเรียนตอบคำถามสั้น ๆ ผ่านโปรแกรม Menti/ Padlet หรือ Google Form  และแสดงผลการตอบคำถามในชั้นเรียน

1)     นักเรียนคิดว่า ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกจะขุดพบ “สิ่งของที่มีค่า” เหมือนหรือแตกต่างกันหรอไม่ อย่างไร

2)     หากในอนาคตลูกหลานต้องมาเรียนรู้วัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ในสังคมของพวกเรา นักเรียนคิดว่าพวกเขาจะเรียนรู้ร่องรอยวัฒนธรรมของพวกเราได้จากสิ่งใด

3)     คิดว่าลูกหลานของเราจะเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากร่องรอยทางวัฒนธรรมที่เราทิ้งไว้ให้

ตัวอย่างผลลัพธ์ (Result) จากการตอบคำถามในโปรแกรม Menti 

การวัดและประเมินผล

1. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการตอบคำถามในชั้นเรียน กิจกรรม Think Pair share กิจกรรมวิเคราะห์สถานที่ฝังศพ และการถาม-ตอบในขั้นสรุปผ่านโปรแกรม Menti

ที่มาข้อมูลไอเดียการสอนจาก Dear-Asia.com

บ้านเชียงแหล่งโบราณคดีตัวแทนแหล่งอารยธรรมยุคสำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - Dear Asia (dear-asia.com)

ติดตามรับชมสารคดีเพิ่มเติม เกี่ยวกับบ้านเชียงได้ที่ เรื่องราวประเทศไทย หัวข้อประวัติศาสตร์

บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก