EN | TH
ตัวอย่างการสอน
[EP1]เสียงสะท้อนจากห้องเรียน เมื่อกระตุ้นการเรียนรู้แบบ Active learning
คอนเทนต์

2 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

Big idea

รีิิวิวการใช้ Dear-ASIA.com ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning พร้อมไอเดียแผนการสอนและใบงาน

โดย: คุณครู พนิชย์ สิมลี จากโรงเรียมัธยมเทศบาล6(นครอุดรธานี)

คุณครู พนิชย์ สิมลี จากโรงเรียมัธยมเทศบาล 6 (นครอุดรธานี)  ผู้ได้รับรางวัล Premium Account  จากการแชร์ไอเดียการนำแพลตฟอร์ม Dear-ASIA.com ไปใช้จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อกระตุกต่อมเอ๊ะ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขอมารีวิวประสบการณ์การใช้ และเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นอย่างไรไปชมกัน

จัดการเรียนรู้ที่กระตุ๊กต่อมเอ๊ะ ผ่าน Dear-ASIA.com ด้วยการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ

“อยากสร้างความรู้สึกอยากเรียนรู้ เกิดการค้นหาเพิ่มเติม ผ่านการกระตุ้น และจัดลำดับความคิด ที่ไม่น่าเบื่อให้แก่ผู้เรียน”

ด้วยความคิดและแรงบันดาลใจที่อยากสร้างห้องเรียนวิชาสังคมที่ก้าวออกนอกกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ จากการท่องจำเปลี่ยนไปเป็นการตั้งคำถาม และชวนหาคำตอบ สื่อที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ หรือบทความ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชักนำให้เกิดความสนใจของผู้เรียน ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการ ตั้งคำถาม การจัดลำดับความคิด และการคิดวิเคราะห์  โดยทฤษฎีการคิดหมวก 6 ใบ ที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเปิดมุมมองการคิดของนักเรียนแบบรอบด้าน ด้วยการจัดระบบความคิดอย่างเป็นระบบ

“ภาพสวย น่าดู เหมาะสำหรับการนำเข้าสู่บทเรียน และประกอบการทำกิจกรรม Active learning”

การใช้สื่อ (วีดีโอ และบทความ) ที่มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ  ผ่านการถ่ายทำจากสถานที่จริง และร้อยเรียงให้มีความน่าสนใจ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนสามารถเห็นภาพ และคิดตามได้จากสถานที่จริง มากกว่าการใช้จินตนาการ ซึ่งช่วยประกอบการคิดวิเคราะห์ ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
 
“เนื้อหากระชับไม่ยืดเยื้อ แบ่งเป็นหัวข้อชัดเจน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง”

ช่วยลดภาระเวลาการเตรียมการสอนของครู พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ภายใต้เวลาการสอน 50 นาที การแบ่งวีดีโอของแต่ละประเทศที่มีหัวข้ออย่างชัดเจน ภายใต้ 6 หัวข้อ ประกอบด้วย บทเกริ่นนำ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเป็นชาติ สถานที่น่าสนใจ และบทสรุป โดยในแต่ละตอนระยะเวลาประมาณ 2-10 นาที เปิดโอกาสให้คุณครูสามารถหยิบยกเนื้อหาที่สอดคล้องกับการสอนในหลักสูตรแกนกลาง เพื่อเตรียมการสอนได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งสามารถนำสื่อเหล่านี้ไปเปิดในชั้นเรียนให้นักเรียนชม เพื่อกระตุ้นความสนใจในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปบูรณาการใช้ร่วมวิชาอื่น ๆ ได้อีกด้วย

“บทความกระตุ้นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถาม สอดคล้องกับบริบทของสังคมในปัจจุบัน”

ถึงแม้จะมีบทความ หรือองค์ความรู้มากมายให้สืบค้น แต่การเลือกบทความที่สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นให้เกิดการตั้งคำถาม และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนถือเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกสื่อประกอบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้สำหรับนักเรียนที่เตรียมตัวเข้าสู่ระดับชั้น อุดมศึกษา นอกเหนือจากนี้ยังมีเกร็ดความรู้สั้นๆ ที่เข้าใจง่าย ประกอบการสืบค้นเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์
 
“นักเรียนสามารถกลับมาทบทวนเนื้อหา เมื่อไหร่และที่ไหนก็ได้”

เตรียมความพร้อมไม่ว่าจะสอน Onsite หรือ Online ในสถานการณ์ภายใต้โรคระบาดของ โควิด-19 ความไม่แน่นอนของการปรับรูปแบบการเรียนไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Onsite เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หรือแม้แต่ในสถานการณ์ปกติที่มีชั้นเรียนพิเศษของนักเรียนที่ต้องไปร่วมการแข่งขันกีฬา หรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียน หากนักเรียนขาดเรียน สามารถกลับมาติดตาม หรือทบทวนเนื้อหาได้ทุกเมื่อเนื่องจากสามารถเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ไม่ว่าจะบน โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ได้ตลอด 24 ชม.

ตัวอย่างที่ 1: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ด้วยแพลตฟอร์ม Dear-ASIA.com: โดยคุณครู​ พนิชย์ สิมลี

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้: รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

2. ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 6

3. ระยะเวลาการดำเนินการทำกิจกรรม: 50 นาที

4. มาตรฐานการเรียนรู้

·  สาระ: ภูมิศาสตร์

·  มาตรฐาน ส 5.1: เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของ ธรรมชาติ ใช้แผนที่ และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่าง มีประสิทธิภาพ

5. ตัวชี้วัด

·  ม.4-6/3 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย และทวีปต่างๆ

6. จุดประสงค์การเรียนรู้

·  นักเรียนสามารถ อธิบายความหมาย พิกัด การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (K)

·  นักเรียนสามารถเขียนอธิบาย ตอบคำถาม สภาพภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (P)

·  นักเรียนมีความกระตือรือร้น และเห็นความสำคัญในการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ (A)


7. สาระสำคัญ

·  แสดงลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีผลกระทบซึ่งกันและกันในระบบของธรรมชาติ

·  เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ แยะแยะ ด้วยการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ

8. สมรรถนะของผู้เรียน

·  ความสามารถในการสื่อสาร

·  ความสามารถในการคิด

·  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

9. จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะศตวรรษที่ 21

·  ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

·  ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy)

·  ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)

10. ชิ้นงาน

·  ใบงาน: วิเคราะห์สภาพภูมิศาสตร์ ของประเทศไทย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

11. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5STEPs) 

11.1 การเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม (Learning to question)
·  เริ่มต้นกระบวนการสอนด้วยการสอบถาม และทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ
·  เกร่นนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยการเปิดคลิปวีดีโอใน website: www.dear-asia.com เลือก Features “เรื่องราว” -> คลิกเมนูเลือกประเทศ  “อินโดนีเซีย” และ “ประเทศไทย” ตามลำดับ -> คลิก หัวข้อ: “บทเกร่นนำ” ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย ให้นักเรียนรับชม
·  หลังจากรับชมวีดีโอแล้ว สอบถามนักเรียนด้วยการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ: หมวกสีขาว โดยให้นักเรียน 1 คน ออกมาเป็นตัวแทนหน้าห้องถามคำถาม และจดคำตอบ โดยมีคำถาม ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ค้นพบคืออะไร ได้รับรู้เรื่องราวอะไรบ้าง

11.2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ (Learning to Search)
·  เปิดคลิปวีดีโอใน website: www.dear-asia.com  เลือก Features “เรื่องราว” -> คลิกเมนูเลือก “อินโดนีเซีย” หรือ “ประเทศไทย” ตามลำดับ ->คลิก หัวข้อ: “ภูมิศาสตร์” ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย ให้นักเรียนรับชม หากนักเรียนตามเนื้อหาไม่ทัน เปิดส่วนของคำบรรยายใต้วีดีโอ

11.3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct)
·  แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีนักเรียน 3 คน
·  ในแต่ละกลุ่มนักเรียนปรึกษาหารือร่วมกัน และกรอกข้อมูลลงบน ใบงาน วิเคราะห์สภาพภูมิศาสตร์ ของประเทศไทย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

11.4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร (Learning to Communicate)
·  สุ่มตัวแทนนักเรียน จำนวน 6 คน จาก 6 กลุ่ม เพื่อนำเสนอผลลัพธ์จาก การคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ (1 คน นำเสนอหมวก 1 สี)

11.5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม (Learning to Service)
· ครูเชื่อมโยง และช่วยสรุปการจัดลำดับความคิด ด้วยการคิดรูปแบบหมวก 6 ใบ

12. สื่อการสอน

·  คลิปวีดีโอ บทเกร่นนำ และภูมิศาสตร์ ของ ประเทศไทย และอินโดนีเซีย

·  ใบงาน: วิเคราะห์สภาพภูมิศาสตร์ ของประเทศไทย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

13. แหล่งการเรียนรู้

·  Website: www.dear-asia.com
·  คลิปวีดีโอหัวข้อ: บทเกริ่นนำ ประเทศอินโดนีเซีย: https://www.dear-asia.com/th-story-1-49
·  คลิปวีดีโอหัวข้อ: บทเกริ่นนำ ประเทศไทย: https://www.dear-asia.com/th-story-4-150
·  คลิปวีดีโอหัวข้อ: ภูมิศาสตร์ประเทศอินโดนีเซีย:https://www.dear-asia.com/th-story-1-50
·  คลิปวีดีโอหัวข้อ: ภูมิศาสตร์ประเทศไทย: https://www.dear-asia.com/th-story-4-151

14. เอกสารอ้างอิง

·  https://www.trueplookpanya.com/education/content/72770

·  https://www.onedaydesignchallenge.net/en/journal/six-thinking-hats-technique

** ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน คลิก **

ติดตามบทความเสียงสะท้อนจากห้องเรียน EP.2 จากคุณครู พนิชย์ คลิก

บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก